ภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบบ่อยทั่วโลกและในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีมลภาวะสูง ฝุ่นละอองมีปริมาณมาก ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นหรือเผชิญสภาพอากาศแบบนั้นเป็นประจำมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ได้
Kamal Meattle (1)นักอนุรักษ์ธรรมชาติและเจ้าของบริษัทซอฟท์แวร์ชาวอินเดีย ได้เล่าผ่านรายการ TedTalk ให้ฟังว่า เมื่อประมาณ 18 ปีก่อน เขาป่วยเป็นโรคภูมิแพ้รุนแรง เพราะสภาพอากาศในเมืองเดลี มีมลภาวะและฝุ่นละอองสูงมาก แพทย์ได้ตรวจปอดของเขา ปรากฏว่าอาการ ภูมิแพ้ ทำให้ปอดทำงานได้เพียง 70% เท่านั้น หากไม่ทำการรักษา อาการจะยิ่งทรุดถึงขั้นเสียชีวิตได้
เขาจึงได้ร่วมมือกับ IIT (สถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดีย) TERI (สถาบันทรัพยากรและพลังงานแห่งอินเดีย) และการเรียนรู้จาก NASA พบว่า มีต้นไม้ใบเขียวสายพันธุ์พื้นฐาน 3 ชนิด ที่ช่วยผลิตอากาศซึ่ง ได้ทดลองปลูกต้นไม้ 3 ประเภทนี้ รวมทั้งหมดจำนวน 1,200 ต้น ในอาคารเก่าอายุ 20 ปีที่มีผู้พักอาศัย 300 คน โดยคาดหวังที่จะปรับคุณภาพของอากาศในอาคารให้ดีขึ้น ซึ่งก็ได้ผลปรากฏว่า ภายในเวลา 10 ชั่วโมง ปริมาณออกซิเจนในระบบเลือดของผู้อาศัยสูงขึ้นถึง 42% และหลังจากทำการทดลองต่อเนื่อง ปรากฏว่า โรคระคายเคืองตา ลดลง 52% โรคระบบทางเดินหายใจ ลดลง 34% โรคปวดศีรษะ ลดลง 24% โรคปอด ลดลง 12% โรคหืดหอบ ลดลง 9%
หากเราต้องเผชิญมลภาวะฝุ่นละอองทุกวัน ลองหันมาปลูกต้นไม้เพื่อฟอกอากาศที่ดีรอบตัวเรา และยังช่วยลดความเสี่ยงในการเจอสารก่อภูมิแพ้ได้อีกด้วย นอกจากหารหลี่กเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้แล้ว เรายังมีวิธีบรรเทาภูมิแพ้ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งด้วย
ทำความรู้จักกับ โอโวมิวคอยด์ (Ovomucoids)
นวัตกรรมใหม่สารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีการงานวิจัยทางคลีนิกและทดลองในคนจริงแล้วว่าสามารถบรรเทาอาการภูมิแพ้ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและผ่านการรับรองมาตรฐานจาก Efsa และ อย.
ปาล์มหมาก (Areca Palm) เป็นพืชที่มีประสิทธิภาพสูงในการเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์แล้วแปลงเป็นออกซิเจน เหมาะสำหรับปลูกในห้องนั่งเล่น ห้องโถง หรือห้องที่มีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง
ลิ้นมังกร (Snake Plant, Mother-in-law’s Tongue) มีประสิทธิภาพในการปรับคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นออกซิเจนโดยเฉพาะช่วงกลางคืน จึงมักนิยมปลูกในห้องนอน เพื่อให้อากาศบริสุทธิ์ยามพักผ่อน
พลูด่าง (Devil’s Ivy, Money Plant) มีคุณสมบัติขจัดฟอร์มาลีน และสารเคมีอื่นๆ ที่ระเหยง่ายไม่ว่าจะเป็น สีทาบ้าน ควันบุหรี่ น้ำยาฟอกสี น้ำยาซักแห้ง ฯลฯ
(1) Kamal Meattle, “How to grow fresh air”, TED2009