ประวัติศาสตร์ นกกระทา เป็นนกขนาดกลางจากตระกูลไก่ฟ้า (Phasianidae) พบในยุโรป ทางเหนือของแอฟริกา สหรัฐอเมริกา และบางส่วนของเอเชีย แม้ว่าไข่นกกระทาจะมีขนาดเล็ก แต่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าไก่ไข่ถึง 4 เท่า และให้โปรตีนที่มีคุณภาพดีกว่าด้วย ชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคไข่นกกระทาตั้งแต่อดีตมาจนถึงทุกวันนี้ และไข่นกกระทากำลังได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วโลก เพราะรสชาติที่อร่อยและคุณค่าทางอาหารสูง ไข่นกกระทาจึงเป็นที่ชื่นชอบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งหาทานได้ไม่ยากโดยเฉพาะในเทศกาลต่างๆ
ในสมัยโบราณ ชาวจีนเป็นกลุ่มแรกที่ค้นพบประโยชน์ต่อสุขภาพของไข่นกกระทาที่มีการใช้ในการรักษาโรคหอบหืดมาอย่างยาวนาน ต่อมาในปี 1970 มีแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ J.C. Truffier ได้สังเกตว่าเกษตรกรที่เลี้ยงนกกระทาสายพันธุ์ญี่ปุ่น มีอาการที่สัมพันธ์กับภูมิแพ้น้อยกว่าประชากรทั่วไปที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน พบว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงนกกระทาคนหนึ่งสังเกตเห็นอาการของโรคหอบหืดของเขาที่ดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนหาย และพบว่าอาการภูมิแพ้ของภรรยาของเขา ที่มีอาการหายใจได้ถี่ๆเป็นช่วงสั้นๆ หายไปเมื่อทานไข่นกกระทา เกษตรกรอีกคนหนึ่งทำการทดลองในลักษณะเดียวกันได้ผลดี จึงได้แนะนำวิธีการดังกล่าวไปยังครอบครัว และเพื่อนๆ ของเขา
งานวิจัยเพื่อตอบคำถามว่า “การทานไข่นกกระทาเป็นสาเหตุที่ทำให้สุขภาพของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ดีขึ้น”(1) จริงหรือไม่ Dr. Truffier ผู้เชี่ยวชาญโรคภูมิแพ้ และผู้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยภูมิแพ้กว่า 200 คน แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ เริ่มทานไข่นกกระทา โดยมีการออกแบบการทดลอง ประกอบด้วยการทานไข่นกกระทาดิบ 6 ฟองในตอนเช้าขณะท้องว่าง เป็นเวลาต่อเนื่อง 9 วันและหยุดทาน 9 วัน และทำซ้ำวิธีดังกล่าวอีกครั้ง โดยการทานไข่สามารถเหยาะเกลือและพริกไทย ทานกับนม หรือปรุงแต่งรสชาติตามความชอบใจ แต่ห้ามทานพร้อมแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มหรืออาหารร้อนๆ ในช่วงเวลา 2-3 ชั่วโมงหลังจากการบริโภค เพื่อไม่ให้ความร้อนไปทำลายสารอาหารในไข่นกกระทา
ผลปรากฏว่า ในช่วงวันแรกของการรักษา สังเกตอาการทางคลินิกพบว่าการกำเริบของการแพ้ค่อยๆลดลง หรือหายไปในผู้ป่วยบางราย จากประโยชน์ของไข่นกกระทาแม้ว่ามันจะมีประโยชน์ทางการแพทย์ในการรักษา แต่พบมีข้อด้อยบางประการ เช่น ทำให้น้ำหนักเพิ่ม คลอเลสเตอรอลสูง หรือบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร หรือมีอาการคลื่นไส้ ดังนั้นในช่วงปลายยุค ’80 จึงมีการพัฒนาสูตรขึ้นใหม่(3) (Galenic formulations) เพื่อช่วยแก้ปัญหาข้างต้น ได้มีการพัฒนาเพิ่อการค้นหาผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติที่ทำจากไข่นกกระทาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อมาจึงมีการทดลองทางคลินิกที่ทดสอบในผู้ป่วยจริงๆอีกหลายฉบับ ซึ่งดำเนินการโดยแพทย์กลุ่มใหญ่ภายใต้ การนำของ Dr. G. Bruttmann แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ชาวฝรั่งเศสที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ในระหว่างปี 1982 และ 1990 มีการสุ่มผู้ป่วยจาก 5 กลุ่มมาทำการทดลองในคลินิกแบบควบคุม(2) จำนวน 690 คน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ (อายุเฉลี่ย 9 ขวบ) ที่เป็นผู้ป่วยโรคหอบหืดและจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ที่เกี่ยวกับไรฝุ่นและละอองเกสรดอกไม้ การทดลองครั้งนั้นให้ผลยืนยันเป็นบวกว่าสารสำคัญในไข่นกกระทาช่วยบรรเทาอาการต่างๆจากภูมิแพ้ได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่งานวิจัยชิ้นนั้นไม่ได้เผยแพร่ออกมาอย่างเป็นทางการ
(1)Therapeutic approach to allergic disease by ingestion of eggs. “The Clinic”, Truffier J.C. 1978
(2)Asthma and quail eggs: The active ingredient discovered. “Impact Medecin”, Guillery JM. 1980
(3)Composition comprising ovomucoid fraction of white quail egg. “United States Patent”, Truffier et al. 1978
(4)Inhibitory effect of the Japanese quail egg ovomucoid on the trypsin and humane elasta is active. “Meicina Biologica”, Vergnaud S. et al. 2007
(5)A proprietary blend of quail egg for the attenuation of nasal provocation with a standardized allergenic challenge: a randomized, double-blind, placebo-controlled study; Food Science & Nutrition, Benichou AC. et al. 2014