คนเป็นแม่อย่างเราจะข่มตาได้นอนได้อย่างไร? ถ้าพอตกกลางคืนลูกก็มีอาการ คัดจมูก หายใจไม่ออก น้ำมูกไหล ร้องไห้งอแง
ยิ่งถ้าเด็กๆมีอาการแบบนี้บ่อยๆ คุณแม่ต้องอย่างนิ่งนอนใจนะคะ เพราะนี่อาจไม่ได้เป็นแค่การแพ้อากาศแต่อาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคจมูกอักเสบที่คุณแม่ทั้งหลายต้องหาวิธีดูแลให้เหมาะสมค่ะ
อาการภูมิแพ้ จมูกอักเสบ (Rhinitis)(1)
คือ อาการระคายเคืองและอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูก ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ส่วนมากมักจะเกิดจากการที่มีสิ่งกระตุ้น (Allergen) มาทำให้เยื่อบุโพรงจมูกบวม จนเกิดสารคัดหลั่งหรือน้ำมูกที่เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ แล้วกลายเป็นอาการคันจมูก จาม น้ำมูกไหล หรือบางครั้งทำให้มีน้ำตาไหลหรือหูอื้อร่วมอีกด้วยค่ะ
โดยสิ่งกระตุ้นที่ควรหลีกเลี่ยงนั้นคือ “ขน ฝุ่น แห้ง ชื้น” หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ด้วยการแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
– กลุ่มแรก คือ สิ่งกระตุ้นที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ไรฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ เป็นต้น
– กลุ่มสอง คือ สิ่งกระตุ้นที่มาจากสภาพแวดล้อม เช่น อากาศแห้ง ความชื้น หรืออากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย
โดยในบางครั้งโรคจมูกอักเสบยังเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียได้อีกด้วยค่ะ
4 ขั้นตอนเบื้องต้นที่คุณแม่ควรรู้ไว้
เพื่อดูแลเด็กที่มีอาการคัดจมูกเป็นประจำหรือเริ่มมีอาการภูมิแพ้จมูกอักเสบค่ะ
1. มีสุขภาพที่ดี : จุดเริ่มต้นที่ง่ายและสำคัญที่สุดคือการให้เด็กๆมีการพักผ่อนที่เพียงพอ ทานอาหารให้ครบหมู่ และหมั่นออกกำลังให้ร่างกายแข็งแรง
2. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น : ควรต้องหมั่นสังเกตุว่าลูกของเราแพ้อะไรนะคะ หรือถ้าไม่แน่ใจก็พาไปตรวจเลยค่ะ เพื่อความชัวร์… หลังจากนั้นก็พยายามจัดสภาพแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมค่ะ
3. เพิ่มความชุ่มชื้น : ล้างจมูกด้วยน้ำเกลืออุ่นๆเพื่อให้น้ำมูกข้นเหนียวถูกชะล้างออกมา และยังช่วยทำให้เยื่อบุจมูกมีความชุ่มชื้น บรรเทาอาการระคายเคืองได้อีกด้วยค่ะ
4. เตรียมยาแก้แพ้เพื่อบรรเทา : หากคุณแม่กังวลเรื่องการกินยาต่อเนื่องนานเกินไป ในปัจจุบันนี้มีผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการแพ้ทางเลือกใหม่ ที่มีส่วนผสมของ OmuZinc (โอมิวซิงค์) ออกฤทธิ์บรรเทาอาการเร็วทันใจ แถมยังปลอดภัยหายห่วง เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ 100% ไม่ต้องกังวลเรื่องสารตกค้างหรือผลข้างเคียงในระยะยาว
ไม่ยากเลยใช่ไหมคะกับการเตรียมตัวเพื่อป้องกันและดูแลลูกไม่ให้มีอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวกมากวนใจ …. ง่ายๆแค่นี้บอกได้คำได้ว่า “ต้องไหว” ค่ะ สู้ๆ!!
———————————————————————
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
(1)พญ. พวงมะลิ ประเวศวรารัตน์ “โรคจมูกอักเสบ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 2018 https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/february-2018/rhinitis