พฤติกรรม เสี่ยงไขมันพอกตับ ดิจิตอล คนออนไลน์ เป็นคำที่ได้ยินกันบ่อยเพราะโลกกำลังเปลี่ยนไป เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนพฤติกรรมการกินก็เปลี่ยนไป เรียกได้ว่า กินอยู่สบายมากขึ้น แต่กลายเป็นบางพฤติกรรมที่ส่งผลทำลายสุขภาพเรามากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องการกินที่ส่งผลต่อตับโดยตรง ทั้งไขมันที่เข้าไปพอกหรือแทรกในตับเรา
โรค NCDs (Non-communicable diseases)
จากผลสำรวจไลฟ์สไตล์ผ่านโลกออนไลน์นั้น พบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เสี่ยงให้เกิดอันตรายทั้งสิ้นซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือโรคร้ายที่เราสร้างเอง ที่เรียกกันว่า โรค NCDs (Non-communicable diseases) นั่นเอง แน่นอนว่าตับเป็นด่านแรกที่ต้องรับภาระหนักที่สุดจากพฤติกรรมที่เราก่อขึ้น ทั้งหมดจึงกลายเป็น การสร้างภาระให้ตับ ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ มากมายที่มีแนวโน้มเป็น ไขมันพอกตับ ภัยร้ายที่ต้องรีบจัดการและยังมีทั้งกลุ่มเสี่ยงอีก 3 กลุ่ม
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวาน
- โรคไขมันในเลือดสูง
แล้วแบบนี่ถ้าเราหยุดกินไขมันเพื่อป้องกันโรคที่ส่งผลร้ายต่อตับ เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดที่ว่าการไม่กินไขมัน ร่างกายจะไม่ได้รับไขมัน เพราะอาหารบางชนิดถ้ากินมากเกินไปก็ทำให้เกิดไขมันสะสมในตับเช่นกัน อาทิ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอย่าง ข้าว ขนมปัง น้ำตาล หรือแอลกอฮอล์ เป็นต้น
วิธีดูแลตับ
มาเปลี่ยนพฤติกรรม เสี่ยงไขมันพอกตับ ก่อนจะสายเกินไป ด้วยการสร้างสุขภาพตับให้มีสุขภาพที่ดี เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ “ 4 help for healthy ” เพื่อสุขภาพที่ดีของตับและร่างกาย ทั้งเพื่อตัวเองและคนที่เรารัก
เสี่ยงไขมันพอกตับ
1. สุขภาพการกิน เป็นเรื่องสำคัญเพราะส่งผลกระทบโดยตรงกับตับ ไขมันที่เกิดจากการกินส่วนใหญ่คือ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นชนิดที่ใช้แปรรูปเป็นพลังงาน อวัยวะที่แปลงไขมันชนิดนี้เป็นพลังงานก็คือ ตับ และนี่คือสาเหตุ ทำไมการกินถึงส่งผลกระทบกับตับโดยตรง และเพื่อฟื้นฟูสภาพตับให้สร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เดิมได้ จึงควรงดการบริโภคอาหารมากเกินพอดี ซึ่งส่งผลต่อกระบวนการเมตาบอลิซึม (การย่อยเพื่อสร้างพลังงาน) ทำให้ช่วยลดภาระของตับได้ อาทิ โดยการกินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ กินให้ครบ 3 มื้อ และงดดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
2. การออกกำลังกาย จะช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น กระบวนการขับพิษมีประสิทธิภาพมากขึ้นและยังช่วยกระตุ้นการสร้างสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกายให้เพิ่มมากขึ้นด้วย จึงเป็นการช่วยบำรุงและลดภาระการทำงานของตับได้ดี รวมทั้ง พักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งเวลา 23.00 – 01.00 น. จะเป็นช่วงเวลาของกระบวนการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย จึงต้องให้ตับลดภาระในการทำงานด้านอื่น ให้ตับกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้เต็มที่ และเก็บสะสม สร้างพลังงานใหม่ได้เต็มประสิทธิภาพ
3. ลดกระบวนการทำร้ายตับ จากความเครียดที่สะสมในแต่ละวัน ส่งผลให้ต่อมหมวกไตส่วนนอกหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียด (adrenaline & cortisol) มากขึ้นๆ มีผลโดยตรงต่อการสะสมไขมันเพิ่มขึ้นในตับ เลือดมาเลี้ยงตับน้อยลง นอกจากนั้นส่งผลกระตุ้น metabolism ในเซลล์มากเกินจนเกิดสารอนุมูลอิสระ รวมทั้งยังทำให้การทำงานของภูมิคุ้มกันลดต่ำลง ซึ่งเป็นการสร้างความเสียหายแก่ตับโดยตรง เปิดโอกาสให้เชื้อโรคร้ายทำลายสุขภาพตับได้มากขึ้น เช่น คนที่มีเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี อาจทำให้จำนวนไวรัสเพิ่มขึ้นจนตับอักเสบได้
4. ดูแลสุขภาพตับ “พรูนัส มูเม่” (Prunus mume) ผลไม้ที่ได้รับการขนานนามว่า SUPERFRUIT ของชาวเอเชีย โดยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ Phytotherapy Research ที่เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ระดับสากลอย่างกว้างขวาง
พรูนัส มูเม่ (Prunus mume) แตกต่างกับสารสกัดทั่วไปอย่างไร