อ้วนลงพุง เสี่ยงไขมันพอกตับ จากสถิติโรคอ้วนของคนไทยนั้น เรียกว่าสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้เสี่ยงต่อโรคภัยต่างๆ ที่ตามมา หนึ่งในโรคที่ร้ายแรงนั้นคือ ไขมันพอกตับ ที่เป็นต้นตอของโรคอีกมากมาย
ประเทศไทยมีคน อ้วนลงพุง 19 ล้านคน คิดเป็น 1 ใน 3 จากประชากรทั้งหมด แล้วอ้วนขนาดไหนเสี่ยงเป็นโรค ไขมันพอกตับ ? ภาวะไขมันสะสมในตับเกิดจากการจับตัวกันของไขมันในเซลล์ตับ จึงพบมากในคนรูปร่างอ้วน
โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นไขมันตรงส่วนใด หากมีมากเกินไปก็ถือว่าไม่ดีทั้งนั้น แต่ไขมันที่สะสมในช่องท้องหรือบริเวณพุงยังเป็นสาเหตุสำคัญของการสะสมไขมันในเนื้อตับ เพราะกรดไขมันอิสระที่ออกมาจากไขมันบริเวณพุงจะเข้าสู่ตับโดยตรงได้มากกว่าไขมันบริเวณสะโพก ซึ่งกรดไขมันที่สะสมภายในตับหากเกิดกับภาวะที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมาก จนเกินที่สารต้านอนุมูลอิสระจะรับมือไหว จะส่งผลให้เกิดการอักเสบของตับตามมาอีกด้วย ดังนั้นคนที่อ้วนลงพุงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคตับ
วัดรอบเอวอ้วนลงพุง หรือไม่ ?
วิธีการง่ายๆ ที่สามารถตรวจสอบว่าเข้าข่ายเสี่ยงอ้วนลงพุง และ ไขมันพอกตับ จนนำไปสู่ตับอักเสบหรืออาจรุนแรงจนเป็นตับแข็งและมะเร็งตับ โดยการวัดรอบเอวหากเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ของคนเอเชียนั้นเสี่ยงเป็น อ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) โดยสามารถตรวจเช็ครอบเอวถ้าผู้ชายเกิน 36 นิ้ว ผู้หญิงเกิน 32 นิ้ว เข้าข่ายเสี่ยง
เมื่อเช็ครอบเอวแล้วเข้าข่ายเสี่ยงโรคไขมันพอกตับด้วยอ้วนลงพุง สิ่งแรกที่ต้องทำคือ กำจัดไขมันส่วนเกินออกซึ่งต้องทำให้ถูกวิธี
วิธีลดน้ำหนักที่ถูกต้อง ที่สำคัญห้ามอดอาหารเพราะการอดอาหารนั้นส่งผลกระทบต่อตับโดยตรงเพราะตับจะต้องดึงไกลโคเจนที่เก็บสะสมไว้มาเปลี่ยนเป็นพลังงานเพื่อใช้ในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน ทำให้ร่างกายยังต้องทดแทนคาร์โบไฮเดตที่ใช้ในการเปลี่ยนเป็นพลังงานอย่างรวดเร็วจึงกลายเป็นมื้อต่อไปต้องรับประทานอาหารมากขึ้นอีก เรียกว่าเป็นการสร้างภาระให้แก่ตับโดยตรงแถมยังกลายเป็นกินมากขึ้นกว่าเดิมอีก ส่วนการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เช่น 3 – 4 กิโลกรัม ภายใน 1 เดือน ส่งผลให้ตับปรับสภาพไม่ทัน ตับจึงรีบดึงไขมันจากเลือดมาสะสมไว้จนทำให้เกิดภาวะไขมันสะสมในตับได้ เรียกว่าภาวะไขมันสะสมในตับจากการขาดสารอาหาร
สรุป
ไม่ควรหักโหมเพราะจะทำให้เสียสมดุลทางโภชนาการซึ่งเป็นการเพิ่มภาระ เพิ่มการทำงานให้ตับ ควรใช้เวลาลดน้ำหนักอย่างเหมาะสมและค่อยเป็นค่อยไป การทำเช่นนี้อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อยจึงจะเห็นผลแต่ก็ดีต่อสุขภาพเพราะร่างกายจะไม่เกิดปฎิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรง โดยอาจจะตั้งเป้าหมายลดน้ำหนัก 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ ก็จะเท่ากับ 2 กิโลกรัม/เดือน และดูแลตับด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ในการลดน้ำหนักที่ไม่ทำร้ายตับก็สามารถทำให้ทั้งคุณและตับสุขภาพดีขึ้นได้ ด้วย “ 4 help for healthy ” ทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย รวมทั้งความเครียด และหาตัวช่วยการดูแลสุขภาพตับที่มีผลการแพทย์รองรับและน่าเชื่อถือ
ผลไม้แก้โรคตับ “พรูนัส มูเม่” (Prunus mume) สารสกัดหลักใน Hepheka สามารถเข้าไปแก้ปัญหาตับได้ถึงระดับเซลล์ ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมบำรุงตับ ที่ได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์แล้วว่าช่วยแก้ปัญหาสุขภาพตับทั้ง 4 ด้าน
- เพิ่มกระบวนการเมตาบอลิซึมในตับ ลดปริมาณ คลอเลสเตอรอล และ ไขมันไตรกลีเซอไรด์ สาเหตุของไขมันพอกตับ
- กระตุ้นการสร้างสารต่อต้านอนุมูลอิสระและกำจัดสารพิษเซลล์ตับ
- ยับยั้งตัวกลางการอักเสบในเซลล์ตับ
- ลดค่าอักเสบของเอนไซม์ตับ ALT และ AST